EIU & GCED

การศึกษาเพื่อความเข้าใจระหว่างประเทศ (EIU) เป็นโครงการริเริ่มด้านการศึกษาแบบองค์รวมและหลาก หลายมิติเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ โดย EIU มีรากฐานมาจากแนวคิดเรื่องสันติภาพที่แท้จริง ซึ่งมี จุดมุ่งหมายที่จะก้าวไปไกลกว่าแค่เพียงการปลอดสงคราม EIU สนับสนุนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สิทธิ มนุษยชนและศักดิ์ศรี ความเท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจ ความยั่งยืนทางระบบนิเวศ และการ ประนีประนอมความขัดแย้งอย่างสันติ ดังนั้น บางครั้ง EIU จึงมีชื่อเรียกแทนกันตามแต่ละบริบท ทั้งการศึกษา สากล การศึกษาระหว่างประเทศ การศึกษาสันติภาพ หรือการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก

การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก (GCED) เป็นศึกษาศาสตร์แบบองค์รวมและปฏิรูป ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ เปลี่ยนแปลงสังคมทั้งในและนอกประเทศให้เป็นสถานที่ที่ยุติธรรม สงบสุข และยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการ เตรียมพร้อมผู้เรียนให้เป็นพลเมืองโลก ทั้งนี้ GCED มีเป้าหมายที่จะส่งเสริม “ความรู้ (พุทธิพิสัย) สัมผัสจิตใจ (เจตพิสัย) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และนำไปสู่พฤติกรรม (ทักษะพิสัย)” เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม GCED ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจวาทกรรมเชิงอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ปัญหาระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจัดการและแก้ไขรากเหง้า และนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในสังคมในที่สุด

UNESCO core learning domains of GCED
จุดมุ่งหมาย การเรียนรู้ วัตถุประสงค์
ด้านพุทธิพิสัย เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประเด็นระดับท้องถิ่นและระดับประเทศทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก และความเชื่อมโยงและการพึ่งพาซึ่งกันและกันของประเทศต่าง ๆ และประชากร
ด้านเจตพิสัย เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติร่วมกัน แบ่งปันคุณค่าและความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ ความสามัคคี การเคารพในความแตกต่างและความหลากหลาย
ด้านทักษะพิสัย มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ และในเชิงบวกในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อโลกที่สงบสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น